วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Learning Log 3

Learning Logs
26/06/08
สัปดาห์ที่ 3

ในสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารอีกครั้งแต่ในสัปดาห์นี้จะเน้นที่ความล้มเหลวที่พบบ่อยๆของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งอาจารย์ได้ให้บทความตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันศึกษา ค้นคว้า และถอดใจความสำคัญออกมากลุ่มละหนึ่งย่อหน้า จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มอื่นๆ ทำให้ได้รับความรู้ครบถ้วน จากกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม และที่สำคัญไปกว่านั้นคือความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความล้มเหลวที่พบบ่อยๆของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งเนื้อหาบทความที่ถอดใจความแล้วมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก ดังนั้นการสอนภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญ ซึ่งจากรายงานแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการใช้การสอนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร ผู้สอนมีส่วนในการทำให้การเรียนประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับทักษะและเทคนิคในการสอนของผู้สอน ดังนั้นผู้สอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะและเทคนิคในการสอนที่ดีและถูกต้องในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการสอนภาษาต่างประเทศ
1. สิ่งที่ท้าทายที่พบบ่อยๆในห้องเรียน คือ ผู้เรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน เพราะผู้เรียนมักจะพูดภาษาอังกฤษเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น เมื่อออกนอกห้องเรียนจะไม่พูดภาษาอังกฤษ กล่าวคือผู้เรียนไม่ได้นำไปปฏิบัตินั้นเอง ทำให้นักเรียนมีบทบาทน้อยลง ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งหาก ครูเข้าใจทฤษฏีการสอน ก็จะทำให้ครูได้ลดการมีบทบาทในห้องเรียนลงและให้นักเรียนมีบทบาทมากขึ้น โดยที่ครูมีหน้าที่คือ คอยให้คำชี้แนะ และคอยช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีปัญหาเท่านั้น และทำให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก
(ปัญหาคือครูไม่มีความเข้าใจในทฤษฎี)
2. กรณีศึกษาภาษาอังกฤษ มีอาจารย์ท่านหนึ่งสอนวิชาภาษาอังกฤษทำกรณีศึกษาเกี่ยวกับนักเรียน2ห้องที่ท่านสอน และสอบถามจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับห้องที่เขาสอน คำตอบออกมาเหมือนกันคือเด็กทั้งสองห้องเป็นเด็กที่เงียบ การเรียนอ่อนอาจารย์ได้ทดสอบโดยให้เด็กทำงานกลุ่ม และใช้ใบความรู้ ในขณะเดียวกันที่เด็กทำงาน ครูก็จะวัดพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนไป จดบันทึกพฤติกรรมไปเรื่อยๆทุกคน ทุกๆคาบ แล้วนำเด็กที่มีปัญหามาสอบถาม และแก่ไขปัญหาให้แก่เด็กตรงจุด
3. สำรวจความเชื่อของผู้สอน ในการสำรวจความเชื่อของผู้สอน โดยการตอบแบบสอบถามโดยไม่ต้องระบุชื่อ เกี่ยวกับความคิด ความเชื่อว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย โดยสำรวจจากผู้สอนจำนวน 75% จากจำนวนนี้ ผู้ที่จบปริญญาโททางการศึกษา และภาษาศาสตร์ประยุกต์มีจำนวนน้อยที่สุด ผู้ที่ทำแบบสำรวจเสร็จและส่งคืนแล้วถูกระบุว่ามี 20 ท่าน ที่เป็นผู้พูดภาษาอาหรับ และ 14 ท่านพูดภาษาอังกฤษ ส่วน 7 ท่านไม่ระบุ และโดยเฉลี่ยแล้วมีถึง 41 ท่านที่สอนในมหาวิทยาลัยมาแล้วเกือบ 6 ปีแบบสำรวจในส่วนที่สองเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทในห้องเรียนของผู้สอน ผู้สอนเห็นว่าต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จำเป็นของผู้เรียน ทั้งการพูด และการเขียน เพื่อไม่ให้กลายเป็นนิสัย ซึ่งผู้สอนส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยวิธีการที่จะตรวจดูข้อผิดพลาดของผู้เรียน ผู้สอนจะให้คำอธิบาย ยกตัวอย่าง ให้แบบฝึกหัด และตรวจดูความถูกต้อง หนึ่งหัวข้อในแบบสำรวจ ผู้สอนส่วนใหญ่จะใช้การทำงานเป็นกลุ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ดี มีความชำนาญขึ้น โดยมีกิจกรรมที่พวกเขาได้ฝึกได้ด้วยตนเอง กิจกรรมโดยทั่วไปมีการเสริมแรง เสริมกำลัง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการคาดคะเนการสื่อสารเกี่ยวกับการสื่อความหมายผิดพลาดของนักเรียน ผู้สอนต้องพูดในเรื่องที่นักเรียนต้องเข้าใจง่าย และที่สำคัญผู้สอนต้องเชื่อในแนวทางการสอนแบบ CLT การพูดของผู้สอนเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการริเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนจะมีเกณฑ์ให้นักเรียนเรียนรู้ คือ การประเมิน ซึ่งต้องตระหนักถึงการสื่อสารระหว่างนักเรียนในห้องเรียนเป็นหลัก
4. กระบวนการรับรู้ของนักเรียน คือ สถิติจากแบบฟอร์มการสำรวจความคิดเห็น นักเรียนที่พูดภาษาอาหรับมีทั้งหมด 181 คน มี ความเห็นว่าในการเรียนรู้ภาษาถ้าครูภาษาอังกฤษไม่แก่ไขข้อผิดพลาดของนักเรียน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มาจากการพูด และการเขียน ทำให้นักเรียนไม่มีทักษะในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จากผลการตอบรับพบว่านักเรียน 86% เห็นด้วยอย่างยิ่ง 50% แค่เห็นด้วยส่วน 12% ไม่เห็นด้วย และ 8% ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และกลุ่มที่ไม่แสดงความคิดเห็นมีถึง 25% นักเรียน 75% หรือ 136 คน มีความเชื่อว่าครูควรจะแก้ไขความผิดพลาดของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความแตกต่างระหว่างเพศก็มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นได้จาก 87.5%ที่เห็นด้วยของเพศหญิง และ 58.4% ของเพศชายที่เห็นด้วย นักเรียนส่วนใหญ่ต่างก็เชื่อว่ามันคือหน้าที่ของครูที่จะระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนให้ชัดเจน ซึ่งครูส่วนใหญ่มีความคิดที่เหมือนกัน คือ ร่วมกันจัดบรรยากาศอันซึ่งครูเป็นผู้พูดที่มีอำนาจเหนือผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา และนักเรียนส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมและจุดประสงค์เชิงบวกในการจัดกิจกรรมกลุ่มในห้องเรียน แต่นักเรียนเห็นว่ามันมักจะเสียเวลากับการเข้ากลุ่มในเวลาเรียน แต่การทำงานกลุ่มเล็กกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เช่น 20-30 นาที มันจะเป็นการดีที่จะใช้เวลาในการปรับปรุงห้องเรียนทำให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการทำงานในกลุ่มเล็กกับเพื่อนก็เหมือนกับได้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป
5. ข้อเสนอแนะในการเรียนภาษา สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนภาษาคือ ครูจะต้องหาวิธีการที่หลากหลายในการสอน และหาวิธีการ แนวคิดให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ โดยการให้นักเรียนได้แสดงบทบาทในชั้นเรียนให้มากที่สุดและครูจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนว่าเมื่อนักเรียน เรียนแล้วได้อะไรบ้างจากการเรียนในครั้งนั้น เมื่อพิจารณาข้อจุดบกพร่องของกรเรียนภาษาอังกฤษ พบว่ามีอยู่ 2 ส่วนที่นักเรียนผิดพลาดบ่อย คือ โครงสร้างของภาษา และโครงสร้างของประโยค วิธีแก้ไขคือ การให้เด็กพัฒนาในการเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเองโดยการทำงานเป็นคู่ ซึ่งเพื่อนจะเป็นคู่สนทนาของเขาและเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่เขาว่าจะสามารปรับปรุงตนเองได้อย่างไร ความผิดพลาดของเด็กอาจเกิดขึ้นอยู่กับเนื้อหาว่าง่ายหรือยาก นักเรียนจะต้องพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะเร็วจะช้าขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถของเด็กแต่ละคน การเรียนแบบนี้๕รูคือผู้ให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา ในกรณีที่เด็กมีปัญหาครูไม่ควรพูดมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้น้อย ครูควรหาวิธีการกระตุ้นให้นักเรียนได้สื่อสารให้มากที่สุด อาจปรับเนื้อหาในบทเรียนเป็นบทบาทสมมุติ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ส่วนคำศัพท์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยมีอยู่หลายคำ คงเป็นเพราะเรื่องนี้เป็นบทความ ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงมักเป็นทางการ หรือไม่ก็เป็นภาษาพูดทางการ และระดับของภาษาเขียน จึงมักเจอคำศัพท์ที่ยากต่อการรู้ หรือเดาความหมาย ดังนั้นจึงได้ศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Vocabulary
Explore
(v.) To travel to or around an area or a country in order to learn about it.
สำรวจ ตรวจ

Administer
(v.) To manage and organize the affairs of a company, an organization.
จัดการ บริหาร ดำเนินการ

Anonymous
(adj.) With a name that is not know or that is not made public.
ไม่ระบุชื่อ

Average
(n.) The result of adding several amounts together.
ค่าเฉลี่ย

Average
(n.) To say that sth is true although it has not been proved and other people may not believe it.
เรียกร้อง อ้างสิทธิ

Indicate
(v.) To show point or make clear in another.
ชี้บอก ชี้แนะ

admittedly
(adv.) Used when you are agreeing that something is true.
เป็นที่ยอมรับกัน

Initiate
(v.) To make sth begin.
ริเริ่ม

Observe
(v.) To watch carefully the way something happens or the way someone does something.
สังเกต สังเกตการณ์ คอยดู

Reinforcement
(v.) To act of making sth stronger, especially a feeling or an idea.
การเสริมกำลัง

Scarcity
(n.) There is not enough of it and it is difficult to obtain.
ความไม่พอเพียง การมีน้อย

Suspect
(v.) To have an idea that sth is probably true or likely to happen.
สงสัย คาดคะเน

Variable
(adj.) Often changing, likely to change.
เปลี่ยนแปลง

Extent
(n.) How large, important, serious, etc.
การประเมิน

Hypothesis
(n.)
An idea or explanation for sth this is based on known facts but has not yet been proved
สมมุติฐาน ข้อสมมุติฐาน

Aspect
(n.) The direction in which a building, window, room or sloping field faces, or the view which can be seen because of this direction
ลักษณะท่าทาง

วันนี้ในคาบของวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อาจารย์ให้คนค้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Learning Style หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และได้สรุปเป็นความรู้ได้ดังนี้
นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่อง Learning Style พบว่ามนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูลโดยผ่าน 3 ช่องทางรับรู้ ได้แก่
ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual Learner) พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้เรียนเนื้อหาที่ครูนำมาเล่าเป็นเรื่องๆ พวกนี้จะสามารถนึกได้เป็นเรื่องราว และสามารถผูกเป็นเรื่องราว ลักษณะคำพูดของพวกนี้ เช่น
“ฉันเห็น....” พวกนี้ควรเลือกเรียน สถาปัตยกรรม การออกแบบ มัณฑนากร วิศวกร หรือหมอผ่าตัด
ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner) พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดีถ้าครูพูด อ่าน หรืออธิบายให้ฟัง ลักษณะคำพูดของพวกนี้ให้ใช้ เช่น “ฉันไดยินมาว่า....” พวกนี้ควรเลือกเรียนทางด้านกฎหมาย ดนตรี หรือจิตวิทยา
ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic Learner) พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดีหากได้สัมผัส การเคลื่อนไหว ลักษณะคำพูดของพวกนี้ที่ชอบใช้เช่น “ฉันรู้สึกว่า...” พวกนี้ควรเลือกเรียนทางด้านก่อสร้าง พละศึกษา หรือการแสดง
นอกจากการแบ่งตามประเภทข้างต้นแล้วยังสามารถแบ่งตามสภาวะของบุคคลในขณะรับรู้ข้อมูล มีอยู่ 3 สภาวะได้แก่ สภาวะของจิตสำนึก (Conscious) จิตใต้สำนึก(Subconscious) และจิตไร้สำนึก (Unconscious) และถ้านำช่องทางการรับรู้ข้อมูลทั้งสองแบบมาเชื่อมโยงกันจะสามารถแบ่งลีลาการเรียนได้อีก 6 แบบ ได้แก่
1. ประเภท V-A-K ต้องได้อ่านและเล่าเรื่องต่างๆให้ผู้อื่นฟังจึงจะเรียนรู้ได้ดี
2. ประเภท V-K-A ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเรียนรู้ได้ดี
3. ประเภท A-K-V ต้องได้สอน ขยายความรู้แก่คนอื่นจึงจะเรียนรู้ได้ดี
4. ประเภท A-V-K มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เจรจา
5. ประเภท K-V-A ต้องได้ใช้ความคิดในสถานที่เงียบสงบจึงจะสามารถเรียนรู้ได้ดี
6. ประเภท K-A-V ต้องได้เคลื่อนไหว ไม่ชอบอยู่นิ่ง จึงจะเรียนรู้ได้ดี
สาเหตุที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Learning Style เพราะจะช่วยให้ผู้สอนรู้จักนำความรู้นี้เข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ รู้ลีลาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ช่วยให้เข้าใจปัญหา และปรับแนวทางการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่าที่จะทำได้

ทักษะกระบวนการคิด Thinking Skill
การคิดไม่ว่าจะคิดเรื่องใดใดก็ตาม ผู้คิดจะต้องคิดตามขั้นตอนดังรายละเอียดดังนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูล (Gathering)
กำหนดประเด็น ค้นหา รวบรวม เลือกสรร

2. การจัดกระทำข้อมูล (Processing)
จำแนก เปรียบเทียบ จัดลำดับ สร้างข้อสรุป เชื่อมโยง ไตร่ตรอง วิจารณ์ ตรวจสอบ

3. การประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying)
ประเมิน เลือกทางเลือก ใช้ความรู้ ขยายความรู้ สังเคราะห์ ปรับใช้ แก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์

4. การควบคุม กำกับตนเอง (Self –Regulation)
ควบคุมการคิด มีคุณธรรม สร้างนิสัยการคิด เรียนรู้ด้วยตนเอง

สำหรับแนวทางที่ สพฐ. พัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถนั้น ได้ดำเนินการดังนี้

ตรวจสอบผลงานนักเรียน
กำหนดมิติการประเมิน (Rubrics)
ประเมินผลงานของนักเรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาผลงานของนักเรียน
สำหรับครูในการตรวจสอบผลงานของนักเรียนต้องดูจากข้อมูล แบบแผนการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้
1. ด้านข้อมูล ปริมาณเนื้อหาสาระ คุณภาพของเนื้อหาสาระ แนวคิด มุมมอง
2. ประโยชน์ต่อการใช้ เนื้อหาสาระสัมพันธ์กัน เป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบ
3. คุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ ไม่ลอก ต้องสังเคราะห์
4. การใช้ภาษาในการนำเสนอ ชัดเจน มีความสละสลวย ต่อเนื่องเชื่อมโยง

ส่วนผลงานของนักเรียนนั้น ครูจะรู้ได้ว่าผ่านกระบวนการมาหรือไม่ โดยดูจากผลงานว่าสะท้อนความคิดเพียงใด ได้แก่
1. ข้อมูลที่นำเสนอ
2. รูปแบบการนำเสนอ
3. การลำดับข้อมูล
4. เป็นเหตุเป็นผล
5. องค์ประกอบ ปฏิสัมพันธ์
6. บูรณาการภาพที่เห็นได้
7. คุณธรรม จริยธรรม คุณค่าแห่งคน
การประเมินผลงานนักเรียนโดยอาศัยหลักสะท้อนความคิดนี้ ใช้สำหรับประเมินผลงานแต่ละครั้ง หลังจากประเมินครูต้องให้ข้อมูลย้อนกลับ และครูต้องมีผลงานที่ดีที่สุดเพื่อเป็นแนวทางแก่คนอื่นๆ พร้อมอธิบาย หรือชี้นำแนวทางที่จะให้นักเรียนเกิดการพัฒนาผลงานในครั้งต่อไปอย่างมีคุณภาพ มีระเบียบแบบแผน และมีทักษะการคิดผ่านผลงานของตนมากยิ่งขึ้น



บันทึก...หนังสืออ่านนอกเวลา
Title: Jeff Goodman, Disaster Doctor
Type: Magazine

Summary
Jeff’s wife passed away, it make him was a bit suicidal because it was the worst time for him. He was a doctor in a small town, at clinic in Hawaii but his son didn’t go with him. Someday, he watched T.V. about the second plane crash into the World Trade Center, so he saved many people. After that, he going to Afghanistan for saving people who had no health care and he go to everywhere for help everyone who want him.

Reflection
I like Jeff very much. He is a good man who helps everybody for good health care. He has a doctor’s spirit.

Some interesting new words
Word: Suicidal (adj.)
Definition: so unhappy that you want to kill yourself to feel suicidal.
Ex. sentence using it: On bad days I even felt suicidal.

Word: Sanitation (n.)
Definition: the equipment and systems that keep places clean, especially by removing human waste.
Ex. sentence using it: Disease resulting from poor sanitation.








From: Reader Digest, June 2008.

ไม่มีความคิดเห็น: