วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Learning Log 2

Learning Logs
19/06/08
สัปดาห์ที่ 2

ในสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวิธีการสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร หรือที่รู้จักและมักจะได้ยินอยู่เสมอๆนั่นก็คือ Communicative Approach วิธีการสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเกิดขึ้นได้เพราะจากการพิสูจน์แล้วพบว่า การเรียนภาษาแบบเดิมๆที่นักเรียนเรียนไปในห้องเรียน นักเรียนไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงนอกห้องเรียนได้ กล่าวคือนักเรียนพูดคุย หรือสื่อสารกับชาวต่างชาติไม่ได้ หรือได้บ้าง แต่เป็นภาษาที่ชาวต่างชาติไม่ใช้กัน ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ.1975 ได้มีการเสนอแนวทางการสอนแบบใหม่นั่นก็คือ Communicative Approach นั่นเอง ด้วยความเชื่อที่ว่านักเรียนต้องเรียนแล้วนำไปใช้สื่อสาร สื่อความหมายได้ ไม่จำเป็นที่จะให้นักเรียนเรียนรู้เฉพาะรูปแบบโครงสร้าง ส่วนรายละเอียดในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Communicative Approach มีดังนี้
แนวคิดพื้นฐาน
วิธีการสอนนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาษาคือ เครื่องมือในการสื่อสาร และเป้าหมายของการสอนภาษาคือ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร รู้ว่าควรจะพูดกับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้เพื่อให้มีความสามารถในการสื่อสารนั่นนักเรียนควรจะต้องเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
1. การใช้ทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. การใช้ทักษะทางสังคม
3. การใช้ทักษะคาดคะเนทำนายความเกี่ยวกับลักษณะของภาษาที่จะเกิดขึ้นในบริบท
4. การใช้ทักษะการสื่อความหมายโดยกริยาท่าทาง อาการ สีหน้า แววตา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะสำคัญของวิธีการสอนนี้มุ่งให้นักเรียนสื่อสาร สื่อความหมายได้อย่างคล่องแคล่ว และถูกต้อง ดังนั้นในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องเน้นให้นักเรียนฝึกการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้มากๆ โดยเน้นทักษะความพันธ์ ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้มากที่สุด ต้องทำให้นักเรียนไม่กลัวการผิดพลาด และรู้ว่าเรียนอะไร เพื่ออะไร ดังนั้นผู้สอนจึงควรบอกจุดมุ่งหมายก่อนทำการเรียนการสอน และไม่ควรแก่ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนทุกครั้ง แต่ควรแก้ไขเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น จะทำให้นักเรียนขาดความมั่นใจและไม่กล้าใช้ภาษาอีก

ขั้นตอนในการดำเนินการเรียนการสอน
1. ขั้นเสนอเนื้อหา (Presentation) ในขั้นนี้ผู้สอนอาจจะใช้การทักทาย พูดคุย ถามคำถามทั่วไป เล่าเรื่องราว เล่าสถานการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจ เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนมายังผู้สอน สร้างความคุ้นเคย ลดความกดดันของนักเรียนลง และผู้สอนอาจตรวจสอบดูว่านักเรียนมีความสนใจ หรือเข้าใจกับสถานการณ์เพียงใด โดยการถามคำถาม ทั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ กระตุ้นความพร้อมของนักเรียนได้อีกด้วย
2. ขั้นการฝึก (Practice) ในขั้นนี้ผู้สอนจะเป็นผู้นำในการให้นักเรียนฝึกใช้ภาษาที่เพิ่งเรียนรู้มาใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนจดจำรูปแบบการใช้ภาษาที่เน้นความถูกต้อง และให้นักเรียนฝึกแบบซ้ำๆจากตัวอย่าง ในขั้นนี้ไม่เน้นเรียนรู้ด้านความหมาย ฉะนั้นจึงไม่ควรใช้เวลามากนักในขั้นนี้
3. ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) ในขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นที่สำคัญมากที่สุด เพราะนักเรียนจะต้องเอาภาษาที่เรียนไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการฝึกการใช้ภาษานี้มีข้อดีที่ทำให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนมีความสามารถที่เกิดจากการเรียนรู้ได้มากแค่ไหน นักเรียนไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาตรงตามรูปแบบมากนักควรปล่อยให้นักเรียนสื่อสารอย่างอิสระ โดยมีผู้สอนเป็นผู้แนะนำแนวทาง และให้ข้อมูลย้อยกลับ เพื่อให้นักเรียนพัฒนาตน

กลวิธีการสอน
1. การใช้สื่อของจริง (Authentic Materials) การใช้สื่อของจริงจะทำให้จะทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้นอกห้องเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนเคยชินกับสถานการณ์จริงที่อาจจะไปพบเจอนอกห้องเรียน
2. การเรียบเรียงประโยคที่สับสน (Scrambled Sentences) กลวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การเชื่อมโยงของประโยคต่างๆ เรียนรู้เกี่ยวกับ Cohesion และ Coherence โดยผู้สอนอาจจะให้ข้อความ บทสนทนา และให้นักเรียนเรียบเรียงประโยคใหม่ให้ถูกต้อง
3. เกมส์ทางภาษา (Language Games) เกมส์ทางภาษาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ คือ ตัวเลือก การหาข้อมูลที่หายไป และการให้ข้อมูลป้อนกลับ
4. ภาพชุดเรื่องราว (Picture Strip Story) กิจกรรมที่ใช้ภาพชุดเรื่องราวจะให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม ในกลุ่มจะมีหนึ่งคนที่ได้รับภาพชุด ให้เพื่อนๆดูภาพแรก และให้คนอื่นๆทายภาพที่สองจะเกี่ยวกับอะไร หรือให้ตัวเลือก ให้เพื่อนคาดคะเน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด และร่วมทำงาน แก้ปัญหา และที่สำคัญนักเรียนได้ฝึกการใช้ภาษาด้วย
5. บทบาทสมมุติ (Role-play) บทบาทสมมุติจะช่วยให้นักเรียนฝึกการสนทนา สื่อสารในสภาพสังคมต่างๆ ในฐานะที่แตกต่างกันออกไป นักเรียนจะต้องคิดเองว่าจะต้องพูดอะไร อย่างไร โดยผู้สอนจะกำหนดบทบาทของแต่ละคน หรือกำหนดสถานการณ์

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ข้อดี
-นักเรียนสามารถใช้ภาษาได้จริงในสถานการณ์จริง
-นักเรียนมีโอกาสที่จะฝึกฝนภาษาเพื่อการสื่อ ความหมาย ฝึกการใช้ความคิด ความกล้า และประสบการณ์ในการใช้ภาษา
-นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน

ข้อจำกัด
-ผู้สอนต้องมีความรู้ ความพร้อม ความเข้าใจในทุกด้าน
-ผู้สอนต้องรู้ทักษะการวัดและการประเมินในแบบต่างๆ และนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง

จากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้สอน และนักเรียน ผู้สอนสามารถหยิบยกส่วนที่ดีของวิธีการสอนนี้มาใช้ในการสอน ในการจัดกิจกรรม ที่สำคัญผู้สอนต้องเข้าใจในหลักการ จุดมุ่งหมาย แนวคิดพื้นฐาน ลักษณะสำคัญ ขั้นตอนต่างๆในการฝึก กลวิธีในการสอน รู้ข้อดี ข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบนี้ และที่สำคัญไปกว่านั้นครูต้องเชื่อ และมั่นใจในวิธีการสอนนี้ และที่ต้องตระหนักอยู่เสมอก็คือต้องทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด สามารถนำภาษาที่เรียนในห้องเรียนไปใช้ได้จริงในสถานการณ์จริง


วันนี้ในคาบของวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom หลังจากนั้นจึงได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้สรุปเป็นความรู้โดยมีรายละเอียดดังนี้
Bloom แบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

การประเมินค่า
(Evaluation)
วัดหรือตัดสินใจได้ว่าอะไรถูก ผิดโดยตั้งบนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ และเหตุผล

การสังเคราะห์
(Synthesis)
นำความรู้ความเข้าใจมาจัดเรียงใหม่ โดยเน้นโครงสร้างใหม่

การวิเคราะห์
(Analysis)
แก้ปัญหา หาทางออกโดยอาศัยความเข้าใจ และประสบการณ์เดิม

การประยุกต์
(Application)
นำความรู้ความเข้าใจมาใช้ในชีวิตจริง

ความเข้าใจ
(Comprehend)
อธิบายบอกหลักการขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆได้

ความรู้หรือความจำ
(Knowledge)
จดจำเนื้อหานิยาม หรือความหมายของสิ่งต่างๆได้


เมื่อได้อ่านทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom แล้วทำให้สามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนของตนเอง อย่างเช่นเมื่อได้อ่านเรื่องหรือบทความเพื่อทำรายงานหรือองค์ความรู้โดยใช้ทฤษฎีของ Bloom ในแต่ละขั้นมาใช้ และทั้งนี้ยังสามารถปรับใช้กับการเรียนในห้องเรียนกับการเรียนในห้องเรียนกับเนื้อหาที่อาจารย์สอน หากทำตามขั้นตอนเหล่านี้ทุกตอนสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น



เนื่องจากการเรียนในรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้มีส่วนหนึ่งของวิชานี้ที่อาจารย์ได้ให้บทความมาอ่าน และช่วยกันถอดความ ซึ่งดูแล้วว่าการเขียนบทความคงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายเลย ต้องเรียนรู้ทักษะหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อรู้อย่างนี้จึงได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งในด้านของความหมาย ลักษณะ ประเภท หรือแม้แต่การเลือกใช้ภาษาในการเขียนว่าเราจะต้องรู้ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และที่สำคัญคือขั้นตอนในการเขียน และสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วมีรายละเอียดดังนี้
บทความ หมายถึง เรื่องราวที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น นักวิชาการ ได้แบ่งบทความออกเป็น 11 ประเภทตามเนื้อหา ได้แก่
บทบรรณาธิการ เขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวคิดหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ
บทสัมภาษณ์ เขียนขึ้นเพื่อสอบถามบุคคลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง
บทความแสดงความคิดทั่วๆไป เขียนขึ้นเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจ
บทความวิเคราะห์ เขียนเพื่อให้ข้อมูล ความคิดเห็นเพิ่มเติม ความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้มากขึ้น
บทความวิจารณ์ เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ และประเมินค่าโดยใช้หลักวิชาและเหตุผล
บทความสารคดีท่องเที่ยว เขียนเพื่อชักชวนให้ผู้อ่านไปท่องเที่ยวยังสถานที่นั้นๆ
บทความกึ่งชีวประวัติ เขียนเพื่อแนะนำข้อมูลส่วนตัว ผลงาน แนวทางการดำเนินชีวิต
บทความครบรอบปี เขียนเพื่อบรรยาย เล่าเหตุการณ์ในเทศกาลสำคัญๆ
บทความให้ความรู้ทั่วไป เขียนเพื่อแนะนำ อธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
บทความเชิงธรระ เขียนเพื่อให้คติ ปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
บทความวิชาการ เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ เนื้อหาสาระข้อเท็จจริง
นอกจากบทความประเภทต่างๆนี้แล้วผู้เขียนยังจะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาด้วย เช่น
ระดับของภาษา หมายความว่าต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย ประเภท กลุ่มผู้อ่าน ไม่ควรใช้ภาษาหยาบคาย ประชดประชัน ควรใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ จนถึงภาษาเขียนระดับทางการ
โวหาร ในการจะเขียนบทความต้องคำนึงถึงโวหารด้วย ควรเลือกโวหารให้ตรงกับประเภท เช่น บรรยายโวหาร สาธกโวหาร พรรณนาโวหาร เป็นต้น
ภาพพจน์ คือการที่ผู้เขียนใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ทางอารมณ์ ความรู้สึก ทำให้เกิดภาพ หรือ อรรถรส
ตัวหัวข้อหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ลักษณะของบทความที่ดี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. มีเอกภาพ เนื้อหา ทิศทางมุ่งไปประเด็นเดียวกัน
2. มีสารัตภาพ ต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจน
3. มีสัมพันธภาพ เชื่อมโยง สัมพันธ์กันตลอดทั้งบทความ ทั้งถ้อยคำ และข้อความ
4. มีความสมบูรณ์ ครอบคลุม เชื่อมโยง ชัดเจน ครบถ้วน
และที่สำคัญหลังจากเรียนรู้ลักษณะต่างๆมาแล้วอีกหัวข้อหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเขียนบทความได้ดี และถูกต้องตามขั้นตอนการเขียน จึงสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้
1. เลือกเรื่อง

น่าสนใจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย

เพื่ออะไร ใครอ่าน
3. กำหนดประเด็นสำคัญ

เพื่อจะได้เสนอเนื้อหา
4. ประมวลความรู้

ค้นคว้าข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียน
5. วางโครงเรื่อง

ไม่สับสน ไม่นอกเรื่อง ซ้ำซาก
6. การเขียน

เมื่อศึกษาเรื่องนี้แล้ว ได้รับความรู้ ความเข้าใจตามแบบตัวอย่างข้างต้นแล้ว คิดว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นงานการเขียนบทความ และโดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับบทความของตนเอง


บันทึก...หนังสืออ่านนอกเวลา
Title: Positive Words
Type: Magazine

Summary
Many people often think young Thai don’t read much these days but, DJ Joe doesn’t believe a hearsay because, he always see a lot of young Thai at Book Fairs. He thinks young Thai read other forms such as Internet.
DJ Joe first developed a reading habit form Magazine and newspaper. He has pocket books around 200. He likes to rend because books are material that can give him ideas for say to the air.

Reflection
I think, reading books are very important and advantageous for reader so, I will try to read more and read several books.

Some interesting new words
Word: Hearsay (n.)
Definition: things that you have heard form another person but do not definitely know to be true.
Ex. sentence using it: We can’t make a decision based on hearsay and guesswork.

Word: Upbeat (adj.)
Definition: positive and enthusiastic.
Ex. sentence using it: The tone of the speech was upbeat.








From: Student Weekly, June 23, 2008.

ไม่มีความคิดเห็น: